

ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
Open Cyber University of Korea
จากการที่คณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร โดยให้มีการเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2565 ศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัย Open Cyber University of Korea (OCU) ได้รับทุนสนับสนุนจากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัย Open Cyber University of Korea (OCU POLL) และบริษัท เอ็ดดูเคชั่น สตูดิโอ จำกัด ผู้ประสานงาน จึงได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับว่าที่ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ดำเนินการสำรวจผ่านสำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจแยกรายเขต จำนวน 50 เขต สำรวจระหว่างวันที่ 8 - 12 มีนาคม 2565 จำนวนทั้งสิ้น 7,062 ตัวอย่าง โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ในพื้นที่แต่ละเขตตามที่กำหนด โดยมีผลการสำรวจ ดังนี้
กลุ่มว่าที่ผู้สมัครที่ได้คะแนนสูง เป็นว่าที่ผู้สมัครสองคนที่ได้รับคะแนนนิยมเกินร้อยละ 20 ได้แก่ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ และ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ โดย ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ยังคงมีผลการสำรวจชนะว่าที่ผู้สมัครคนอื่น โดยได้ผลการสำรวจร้อยละ 29.3 อย่างไรก็ตาม คะแนนของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อน ร้อยละ 4.51 และ สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ เป็นว่าที่ผู้สมัครผู้ว่า กทม. ที่มีคะแนนนิยมตามมาเป็นอันดับสอง ได้คะแนนร้อยละ 25.2 ลงลงจากการสำรวจครั้งก่อน ร้อยละ 3.09 และตามหลังชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อยู่ร้อยละ 4.1
กลุ่มว่าที่ผู้สมัครที่ได้คะแนนปานกลาง เป็นว่าที่ผู้สมัครสองคนที่ได้รับคะแนนนิยมเกินร้อยละ 10 ได้แก่ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร ได้คะแนนความนิยม 11.6 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งที่ก่อน ร้อยละ 3.03
กลุ่มว่าที่ผู้สมัครที่ได้คะแนนต่ำ เป็นว่าที่ผู้สมัครสองคนที่ได้รับคะแนนนิยมน้อยกว่าร้อยละ 10 ได้แก่ อัศวิน ขวัญเมือง ได้คะแนนร้อยละ 5.4 ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อน ร้อยละ 0.31, รสนา โตสิตระกูล ได้คะแนนร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน 0.22 , สกลธี ภัททิยะกุล ได้คะแนนร้อยละ 3.6 (เป็นครั้งแรกที่มีชื่อในการสำรวจ)
ทั้งนี้ ยังมีผู้ไม่ตัดสินใจ ร้อยละ 21.7 เพิ่มขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน ร้อยละ 1.41 และมีผู้ประสงค์ไม่ไปใช้สิทธิ ร้อยละ 0.5
ผลการสำรวจในรายละเอียด มีดังนี้
ผลคะแนนรวม
2.1 ด้านปัญหาปากท้อง
2.2 ด้านสาธารณสุข
2.3 ด้านฝุ่นพิษ/ควันพิษ
2.4 ด้านน้ำท่วม/น้ำรอระบาย
2.5 ด้านการจราจร
2.6 ด้านการศึกษา
2.7 ด้านการให้บริการของกรุงเทพมหานคร
2.8 ด้านความปลอดภัยสาธารณะ
2.9 ด้านศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี กีฬา
2.10 ด้านความเท่าเทียมทางเพศ